สวัสดีเพื่อน ๆ ที่กำลังเล่นZold:outกันอยู่นะครับ เกมนี้เป็นเกมแนวRPG Turn-basedที่ใช้การ์ดเป็นระบบเกมเพลย์หลัก ซึ่งการ์ดเหล่านั้นก็จะมีการอ่านค่าต่าง ๆ ภายในการ์ดและนำมาปรับใช้กับสถานการณ์ในการต่อสู้จริงแตกต่างกันไป แต่ว่าเกมนี้มีการ์ดให้เลือกเล่นมากมายเหลือเกิน หลายคนไม่รู้ว่าการ์ดไหนดี การ์ดไหนแย่ หรือเหมาะกับสถานการณ์แบบไหน วิเคราะห์ไม่ค่อยถูก แต่จะให้สร้างการ์ดมาลองเองให้ครบทุกใบก็กลัวจะเปลืองทรัพยากรเปล่า ๆ บทความนี้ขอนำวิธีการอ่านหน้าการ์ดมาเจาะลึกกันครับ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ที่กำลังตัดสินใจคราฟท์การ์ดใหม่ ๆ หรือกำลังงงว่าจะเลือกใช้การ์ดใบไหนดี
1. Base ATK เลขตัดสินว่าการ์ดนี้แรงหรือไม่
Base ATK คือตัวเลขดาเมจพื้นฐานที่จะเกิดขึ้นจากการใช้การ์ดใบนี้ ถ้าเป็นการ์ดที่ทำดาเมจก็จะสร้างดาเมจตามนั้น แต่กลับกันถ้าเป็นการ์ดฮีลก็จะเพิ่ม HP ของเพื่อนตามนั้น แต่มันจะไม่ใช่ตัวเลขนี้เพียว ๆ เป็นแค่ Base ตัวเลขที่จะเอาไปคำนวณกับ Status ของตัวละครอีกที ซึ่งพื้นฐานของ Base ATK จะเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ยิ่งการ์ดไหนคอร์สเยอะก็จะยิ่งแรง แต่ถ้าการ์ดไหนมีเงื่อนไขเยอะก็จะยิ่งเบา ยกตัวอย่างเช่นการ์ด Wooden Bow ใช้คอร์ส 3 แต่ Base ATK อยู่ที่ 246 ในขณะที่ Poison Bow ที่ทำให้ศัตรูติดพิษได้ ใช้คอร์ส 3 เท่ากัน แต่ Base ATK จะอยู่ที่ 190 ทั้ง ๆ ที่ Poison Bow เป็นการ์ดที่มีระดับเลเวลสูงกว่า
2. STR Bonus และ INT Bonus ช่วยเพิ่มดาเมจคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
จากที่กล่าวมาในข้อ 1 คือส่วนของ Base ATK จะเป็นตัวเลขที่มาจากการ์ดอาวุธ แต่ส่วนของ STR Bonus และ INT Bonus จะเป็นตัวเลขที่มาจากตัวละครของเรา ซึ่งส่วนใหญ่จะแยกชัดเจนว่า STR จะเป็นค่าสเตตัสของการ์ดสายดาบ, ธนูและหนังสือสายโจมตี ส่วน INT จะเป็นค่าสเตตัสของคทาเวทมนตร์และหนังสือสายฮีล โดย STR Bonus และ INT Bonus จะเพิ่มเป็นเรทตั้งแต่ F ต่ำสุด ไล่ไปจนถึง SS ยิ่งเรทสูงเท่าไหร่ก็หมายความว่าการคำนวณดาเมจมีการนำ Status ของตัวละครมาบวกเพิ่มมากเท่านั้น ดังนั้น การ์ดที่ดีคือการ์ดที่ให้ STR Bonus และ INT Bonus เรทสูง ๆ ควบคู่ไปกับ Base ATK ที่สูงนั่นเองครับ
3. Target ที่อาจโดนได้ทั้งเพื่อนและศัตรู
คำว่า Target ที่ปรากฎอยู่บนการ์ด จะมีลักษณะเป็นตัวละคร 2 ตัว เป็นเผ่ามนุษย์สีฟ้าและเผ่าปีศาจสีแดง โดยเผ่ามนุษย์สีฟ้าจะแทนตัวละครฝ่ายเรา ส่วนเผ่าปีศาจสีแดงจะแทนฝ่ายศัตรู ถ้าการ์ดใบไหนปรากฎสีฟ้าหมายความว่าใช้กับพรรคพวกของเรา อาจหมายถึงการ์ดซัพพอร์ตที่เพิ่มสเตตัสหรือฮีลเพื่อน แต่ถ้าปรากฎเป็นสีแดงนั่นหมายถึงการ์ดโจมตีหรือดีบัฟศัตรู และถ้าตรงส่วนของ Target ไม่ปรากฎสีอะไรเลย นั่นหมายความว่าการ์ดใบนี้ใช้กับตัวเองเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับเพื่อนร่วมทีมหรือศัตรูได้ครับ แต่อยากจะให้ดูดี ๆ นิดนึง เพราะการ์ดบางใบที่เป็น AOE ดาเมจนั้นมีสิทธิ์โดนพวกเดียวกันได้ด้วย ก่อนใช้การ์ดก็ดูดี ๆ นะครับ
4. Area ใช้บอกรัศมีความกว้างของการโจมตี
ตรงส่วนของ Area ที่อยู่ถัดมาจาก Target คือรัศมีการใช้การ์ดนั้น ๆ วัดจากจุดศูนย์กลางของจุดที่ปล่อยการ์ด โดยระยะจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ Single, Small, Medium และ Large โดยอาจจะมีเครื่องหมาย + แทรกเข้ามาบ้างนั่นหมายถึงรัศมีกว้างกว่าระดับที่ระบุอยู่นิดหน่อย แต่ไม่ถึงขั้นระดับถัดไป สิ่งที่แตกต่างคือระดับ Single จะโดนได้แค่เป้าหมายเดียวเท่านั้น ปล่อยการ์ดใส่ตัวไหนก็จะมีแค่ตัวนั้นที่โดน กลับกันอีก 3 ระดับที่เหลืออย่าง Small, Medium และ Large มีสิทธิ์โดนทุกตัวที่อยู่ในรัศมีของการ์ด ไม่ว่ารัศมีจะแคบแค่ไหน ขอแค่ตัวอยู่ติดกันก็จะโดนแทบทั้งหมด ส่วนใหญ่ AOE ดาเมจแบบนี้จะมีในการ์ดคทาและหนังสือครับ
5. Range ระยะการโจมตีของอาวุธ
ในส่วนที่เขียนว่า Range ก็คือระยะการโจมตีของอาวุธ ที่จะบอกว่าการ์ดใบนี้โจมตีได้ไกลแค่ไหน โดยเริ่มต้นจาก Self / Close / Close Short / Short / Close Medium / Medium / Short Long / และ Long ยิ่งไกลก็ยิ่งได้เปรียบ แต่ก็จะยิ่งเสียค่าคอร์สเยอะมากขึ้นเท่านั้น และอาจแลกมาด้วยดาเมจที่ลดลงตามบาลานซ์ของเกม ซึ่งระยะ Self และ Close ส่วนใหญ่จะเป็นของนักรบ, ตั้งแต่ Close Short ถึง Short Long จะเป็นของนักธนู, Medium จะเป็นพื้นที่ของนักบวช และนักเวทย์จะพิเศษหน่อยที่มีตั้งแต่ Self ไปจนถึง Long แล้วแต่การ์ดเลยครับ
6. Chanting หรือสัญลักษณ์รูปนาฬิกาทราย
การ์ดสายคทาของนักเวทย์จะมีความพิเศษไม่เหมือนใครอยู่ ซึ่งการ์ดบางใบจะมีสัญลักษณ์รูปนาฬิกาทรายอยู่ด้านล่างตัวเลขค่าคอร์ส พอมาอ่านในคำอธิบาย ทุกใบที่มีนาฬิกาทรายจะปรากฎคำว่า Chanting ซึ่งแปลว่าการสวดมนต์ หรือการร่ายเวทย์ พร้อมกับตัวเลขกำกับ เช่น for 4 ticks หรือ for 6 ticks เป็นต้น นั่นหมายความว่าการ์ดใบนี้ต้องเสียเวลาร่ายก่อนที่การ์ดจะแสดงผลกี่เทิร์นนั่นเอง โดยเรื่องของเทิร์นนั้นจะมีความเกี่ยวข้องกับนาฬิกาที่มี 12 ชั่วโมง โดย 1 ชั่วโมงจะถือว่าเป็น 1 tick และ tick ก็คือ Action Point ที่เราใช้การ์ดไปนั่นแหละครับ ถ้าเราขยับน้อย tick ของเราก็จะเหลือเยอะ ทำให้เราเร็วกว่าศัตรูนั่นเอง การใช้การ์ดที่มี Chanting 6 tick ก็คือเราต้องคำนวณว่า tick ของเราที่เสียไป 6 แต้ม จะยังเร็วกว่าศัตรูที่กำลังจะเริ่มเดินหรือเปล่า ต้องดูที่มุมซ้ายบนของ Battle ครับ ถ้าเราเร็วกว่า เวทย์ก็จะออกก่อนศัตรูขยับ แต่ถ้าช้ากว่าศัตรูก็อาจหลบได้นั่นเอง
7. Quality 5 ระดับ ยิ่งสูงยิ่งดาเมจแรง
ในการทำ Weapon Forge หรือการคราฟท์การ์ดอาวุธมาใช้งานนั้น การ์ดแต่ละใบจะมี Quality อยู่ทั้งหมด 5 ระดับ ซึ่งจะสุ่มทุกครั้งที่ทำการคราฟท์ แต่ยิ่งเราคราฟท์ได้ระดับสูงสุดมาแล้วครั้งหนึ่งก็จะทำให้ติดระดับสูงสุดง่ายขึ้น โดยระดับทั้ง 5 ขั้นนั้นจะประกอบไปด้วย 1 ดาว / 2 ดาว / 3 ดาว / มงกุฎเงิน / และมงกุฏทองครับ โดยสิ่งที่แตกต่างกันของแต่ละระดับก็คือ Base ATK จะมีตัวเลขที่สูงขึ้น และ Status Bonus จะได้รับเรทติด + ซึ่งก็จะเพิ่มมากขึ้นอีกด้วยครับ สรุปง่าย ๆ คือ ยิ่ง Quality สูงก็ยิ่งแรงนั่นเอง
8. ค่าคอร์ส Action Point ที่ใช้ Active การ์ด
ส่วนสุดท้ายที่ง่ายที่สุดแต่ก็คำนวณยากที่สุดก็คือ Action Point ที่อยู่ในมุมบนซ้ายของรูปการ์ดทุกใบ เป็นตัวเลขที่แสดงผลนับเป็น ticks ซึ่ง ticks นี้จะส่งผลกับเทิร์นการเดินของตัวละครทุกตัวในเกมเพลย์ ยิ่งเราใช้ ticks มากเท่าไหร่ก็จะทำให้เริ่มเทิร์นช้ามากเท่านั้น กลับกัน ตัวละครที่ไม่ใช้การ์ดหรือไม่ใช้ ticks เลย ก็จะทำให้ถึงเทิร์นตัวเองเร็วขึ้นนั่นเอง เพราะฉะนั้นการเลือกใช้การ์ดที่มี ticks จำนวนมากอาจส่งผลดีในแง่ของความรุนแรงและดีบัฟพิเศษต่าง ๆ แต่ข้อเสียที่ตามมาแน่ ๆ เลยก็คือจะทำให้ตัวละครตัวนั้นเริ่มเทิร์นใหม่ได้ช้าลง ยิ่งถ้าเจอพวกศัตรูสาย SPD เร็ว ๆ แล้ว อาจทำให้เสียเปรียบเรื่องจำนวนเทิร์นเล่นได้ เพราะงั้นการทุ่มสุดตัวอาจไม่ใช่ทางออกเสมอไป ควรกั๊ก ๆ ใช้การ์ดคอร์สต่ำ ๆ ไว้บ้างครับ
ข้อมูลทั้งหมดนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ที่กำลังเล่นZold:outกันอยู่ทุกท่านนะครับ ตัวเกมค่อนข้างเข้าใจง่าย เล่นแบบไม่คิดอะไรก็สนุก แต่พอมองเจาะลึกลงไปแล้วเล่นให้ดีนั้นค่อนข้างที่จะต้องวางกลยุทธ์และวิเคราะห์การ์ดแต่ละใบในเชิงลึกกันเลยล่ะ สุดท้ายก็อยากขอให้เพื่อน ๆ เล่นเกมนี้กันได้อย่างสนุกสนานนะครับ
ดาวน์โหลดเกม
C4Cat MakinoJou Zold:Out